Upcoming Event

พื้นที่ดาวเด่น

พื้นที่ดาวเด่น

การพัฒนาสังเคราะห์และแสดงผลในรูปแบบแผนภูมิแผนอาหาร FOOD SYSTEM MAPPING : แผนภูมิเชิงต้นทุน

โครงการบูรณาการเพื่อหนุนเสริมยุทธศาสตร์แผนอาหารและร่วมกับภาคีเพื่อการขยายผลระบบอาหารสุขภาวะ มีเป้าหมายในการบูรณาการพัฒนางานเพื่อหนุนเสริมยุทธศาสตร์แผนอาหารร่วมขับเคลื่อนแนวทางพลเมืองอาหาร ความรอบรู้ด้านอาหาร ชุมชนอาหาร เพื่อมุ่งสู่การร่วมขยายผลระบบอาหารสุขภาวะ ในส่วนของการหนุนเสริมการบูรณาการแผนอาหาร ได้ริเริ่มการพัฒนาเครื่องมือแผนภูมิ (System map) เพื่อมาพัฒนาการทำงาน โดยมีเป้าหมายในการรวบรวมข้อมูลต้นทุนความรู้และพื้นที่ของแผนอาหารย้อนหลังในรูปแบบฐานข้อมูลที่มีการกำหนดโครงสร้างของชั้นข้อมูลให้สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนงานของยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. โดยนำเสนอในลักษณะการสื่อภาพ (Data Visualization) เพื่อผลักดันให้เกิดเส้นทาง “แผนที่ระบบอาหารประเด็นการเคลื่อนงานและความรู้แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ” สำหรับใช้ในการสื่อสารงานแผนอาหารในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับแผนอาหาร ระดับงานภาคี และระดับงานอาหารระหว่างส่วนงานภายใน สสส.

 

ขอบเขตเนื้อหาการจัดทำเครื่องมือแผนภูมิ

  1. กำหนดเนื้อหาการจัดทำโครงสร้างข้อมูลโดยทีมสังเคราะห์ข้อมูลโครงการภายใต้ ขอบเขตข้อมูล “โครงการดำเนินการ ช่วงปี 2563 - 2565 เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและ ต่อยอดการพัฒนาการจัดทำโครงการตามทิศทางและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี สสส. (พ.ศ.2565 - 2574)
  2. ถอดข้อมูลจาก “เอกสารข้อเสนอโครงการ” ที่ทีมโครงการบูรณาการ ทีมสังเคราะห์ข้อมูลและทีมออกแบบสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
  3. ถอดข้อมูลจาก “เอกสารจบโครงการ”ที่ทีมโครงการบูรณาการ ทีมสังเคราะห์ข้อมูลและทีมออกแบบสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

 

การดำเนินงานออกแบบแผนภูมิแผนอาหารฯ

 

การดำเนินงานออกแบบแผนภูมิแผนอาหาร มีการแบ่งประเภทการแสดงผลข้อมูลที่สัมพันธ์กับเป้าหมายและวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ของผู้ใช้งานแผนภูมิ (End-User)  สามารถจำแนกการแสดงผลแผนภูมิออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

 รูปแบบที่ 1: แผนภูมิเชิงต้นทุน แผนภูมิวิเคราะห์ต้นทุน แสดงความสัมพันธ์ของประเด็นอาหารกับผลผลิตกลุ่มกิจกรรมนโยบาย-ความรู้-พื้นที่

รูปแบบที่ 2: แผนภูมิเชิงพิกัด-ตำแหน่ง แผนที่เชิงภูมิศาสตร์แสดงต้นทุนงานแผนอาหารกลุ่มกิจกรรมประเด็นนโยบาย ความรู้และพื้นที่ที่มีการระบุพื้นที่เป้าหมาย

รูปแบบที่ 3: แผนภูมิเชิงปริมาณ แผนที่แสดงการเปรียบเทียบการเติบโตในเชิงปริมาณ (จำนวน-ปีดำเนินงาน) Bar Chart (Stacked)

รูปแบบที่ 4: แผนภูมิเชิงยุทธศาสตร์ แสดงความสัมพันธ์ของต้นทุนพื้นที่-ต้นทุนภาคีเพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบอาหารชุมชน

 

บทความนี้จะนำเสนอโดยเริ่มจากแผนภูมิรูปแบบที่ 1 : แผนภูมิเชิงต้นทุน

รูปแบบการแสดงผล การแสดงผลในรูปแบบการจับคู่หรือกลุ่มความสัมพันธ์ของชุดข้อมูลภายใต้การดำเนินงานโครงการแผนอาหารฯ มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงของประเด็นและกิจกรรมทั้งหมดภายใต้ต้นทุนแผนอาหารฯ

โครงสร้างเนื้อหาภายในแผนภูมิ 

  • เป้าหมายโครงการ-ผลผลิต ตามห่วงโซ่ผลลัพธ์การบริโภคอาหารฯ
  •  ประเด็นอาหาร
  •  ประเด็นยุทธศาสตร์ (นโยบาย-ความรู้-พื้นที่)
  •  ผลผลิต (นโยบาย-ความรู้-พื้นที่)
  • ภาคีดำเนินงาน
  • จังหวัด

วิธีการอ่านและการแสดงผลแผนภูมิเชิงต้นทุน

ก) แถบแสดงโครงสร้างเนื้อหาแผนภูมิ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดเนื้อหาที่ต้องจับคู่ความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล ได้แก่ เป้าหมายโครงการ ประเด็นอาหาร ยุทธศาสตร์ความรู้ ผลผลิตความรู้ ยุทธศาสตร์นโยบาย ผลผลิตนโยบาย ยุทธศาสตร์พื้นที่ ผลผลิตพื้นที่ ภาคีดำเนินงาน จังหวัด

ข) ส่วนแนบท้าย แสดงแหล่งที่มาข้อมูลและลิงค์แนบ เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลการสังเคราะห์เนื้อหาโครงการ (Google Sheet)

ค) การแสดงผลข้อมูล แผนภูมิจะแสดงผลภาครวมของเส้นโครงข่ายเชื่อมโยงเนื้อหาที่มีประเด็นสัมพันธ์ต่อกัน และสามารถเลือกดูข้อมูลเฉพาะของแต่ละเนื้อหาได้ โดยการเลื่อนเคอร์เซอร์ไปวางบนประเด็นที่ต้องการเห็นความสัมพันธ์เฉพาะ

 

โพสต์เมื่อ 11 มิ.ย. 2566

All Events