โหนดโรงเรียน
โหนดโรงพยาบาล
โหนดผู้ผลิต-ตลาดเขียว
โหนดผู้บริโภค
กิจกรรมโครงการ
รายชื่อภาคี
"ครู" กับบทบาทสำคัญในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อาหารกับเยาวชนทำงานกับครู....สร้างเด็กได้ตลอดไปครูจึงเป็น "หุ้นส่วนสำคัญของการพัฒนา"
การจัดกระบวนการ Workshop Young Food ครั้งที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพครูให้เป็นนักจัดกระบวนการเรียนรู้เยาวชนกับอาหาร (Young Food) หลักสูตร “Young Food learning modules” ที่สวนเกษตรลัดดาวัลย์ เทศบาลปลายบางวันนี้อบอุ่นไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของคุณครูจาก 11 โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่มาร่วมเรียนรู้ชุดกิจกรรมการสร้างความรอบรู้ด้านอาหารด้วยกระบวนการ Young Food (อาหารกับเยาวชน) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คุณครูเห็นความสำคัญของการทำให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องอาหาร ทั้งในเชิงความมั่นคงทางอาหาร คุณค่าโภชนาการ และอาหารปลอดภัย และเลือกชุดกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ไปปรับใช้ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้กับเด็กนักเรียนอย่างสนุกสนาน สร้างสรรค์ และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่ง เพื่อพัฒนาให้เด็ก ๆ เกิดความรอบรู้ด้านอาหาร และเป็นพลเมืองอาหารที่สำคัญต่อไป
โดยชุดกิจกรรม Young Food เป็นการออกแบบภายใต้สามส่วนหลัก ได้แก่ เมนูอาหาร (Food Menu) ที่สะท้อนที่มา เรื่องราว ความเชื่อมโยงต่าง ๆ สะพานเชื่อมวัย (Food Bridge) คือผู้ใหญ่ใจดีที่มีบทบาทเชื่อมร้อยความสัมพันธ์ในมิติอาหาร สภาพแวดล้อม บุคคล ความเชื่อ ให้เด็ก ๆ ได้ซึมซับรับรู้ และใช้ความรู้เรื่องราวของอาหารมาสื่อสารสังคม (Food Cafe') การจัดเวิร์คชอปครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโครงการนวัตกรรมสภานโยบายอาหาร ภายใต้การสนับสนุนของแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สสส. ร่วมกับสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือความร่วมมือจากโรงเรียน 11 แห่งในจังหวัดนนทบุรีที่เห็นความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ โรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร โรงเรียนวัดโมลี (นันทวิมล) โรงเรียนวัดบางขนุน โรงเรียนชุมชนวัดราษฎร์นิยม โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง โรงเรียนชุมชนวัดไทรม้า โรงเรียนวัดใหญ่สว่างอารมณ์ โรงเรียนวัดมะเดื่อ โรงเรียนวัดบางบัวทอง โรงเรียนนนทบุรีมอนเตสเซอรี่ และโรงเรียนวัดสิงห์ทอง โดยหลังการอบรม 2 ครั้ง โครงการจะมีการมอบประกาศนียบัตรให้แก่ครูผู้ผ่านการอบรม และมีการติดตามผลการนำชุดกิจกรรมสร้างกระบวนการเรียนรู้ Young Food ไปใช้ เพื่อนำข้อคิดเห็นและเสนอแนะจาก 11 โรงเรียนมาพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร และเผยแพร่สื่อสารสาธารณะต่อไป